หน่วยแพทยศาสตรศึกษา

Medical Education Unit

หน่วยแพทยศาสตรศึกษา วพม. จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2542 มีที่ตั้งอยู่ชั้น 5 อาคารพระมงกุฎเกล้าเวชวิทยา

หน่วยแพทยศาสตรศึกษา วิทยาลัยแพทยศาตร์พระมงกุฎเกล้า (นพศ.วพม.)

งานแพทยศาสตรศึกษา วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้าเริ่มดำเนินการก่อตั้ง วพม.ในปี พ.ศ.2518 โดย พ.อ.หญิง มยุรี พลางกรู รอง ผอ.วพม.ฝ่ายวิชาการ ต่อมามีการส่งอาจารย์เข้ารับอบรมด้านแพทยศาสตรศึกษาในประเทศและต่างประเทศ

ในปี พ.ศ. 2539 มีการจัดตั้งหน่วยแพยทศสาตรศึกษา วพม. ได้รับจัดตั้งเป็นทางการตามคำสั่ง วพม. เมื่อ 6 ส.ค. 2542 เป็นหน่วยเฉพาะกิจของกองการศึกษา มีขนาดเทียบเท่าภาควิชา โดยมีรอง ผอ.กศ.วพม.ทำหน้าที่หัวหน้าหน่วยแพทยศาสตรศึกษาอีกตำแหน่งหนึ่ง

ที่ตั้งสำนักงานหน่วยแพทยศาสตรศึกษา วพม.อยู่ที่ชั้น 5 อาคารพระมงกุฎเกล้าเวชวิทยา วพม.

Email:mededpcm@yahoo.com

งานแพทยศาสตรศึกษาประกอบด้วย งานพัฒนาอาจารย์ด้านแพทยศาสตรศึกษา งานพัฒนาหลักสูตร งานพัฒนาระบบประเมินผลการศึกษางานพัฒนาสื่อการสอนและเทคโนโลยีแพทยศาสตรศึกษา งานวิจัยแพทยศาสตรศึกษา งานบริการการเรียนรู้ทางการแพทย์ ณ ต่างประเทศ และงานศึกษาต่อเนื่องของอาจารย์ วพม.

งานการจัดการศึกษา

· งานพัฒนาหลักสูตร

· จัดให้เป็นหลักสูตรระดับปริญญาตรี (Undergraduate Medical Education) 6 ปี ระบบ 1:2:3 (เตรียมแพทย์ 1 ปี

ปรีคลินิก 2 ปี และคลินิก 3 ปี) และให้เป็นหลักสูตรพื้นฐานสำหรับการศึกษาหรือการฝึกอบรมหลังปริญญา (Postgraduate Medical Education) และการศึกษาต่อเนื่อง (Continuing Medical Education)

· จัดให้มีโครงสร้างของหลักสูตรเป็น 3 หมวด คือ หมวดศึกษาทั่วไป หมวดวิชาเฉพาะ และหมวดวิชาเลือก

- หมวดศึกษาทั่วไป มีเนื้อหาของ Core Curriculum ที่มุ่งเน้นการสอน General Education, Generic Competence และ Professional Ethics ตลอดหลักสูตร

- หมวดวิชาเฉพาะ มีเนื้อหาของ Core Curriculum เป็นการผสมผสานทั้งด้านพื้นฐานการแพทย์ (ปรีคลินิก) และด้านคลินิกเข้าด้วยกัน โดยใช้ระบบของร่างกายเป็นแกนกลางในการเชื่อมโยงเรื่องโครงสร้าง หน้าที่ พฤติกรรม คนและสังคมเข้าด้วยกัน และแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ

ระยะที่หนึ่ง/Phase 1 (ปีที่ 1 และ 2) เป็นเรื่องของโครงสร้างหน้าที่และพฤติกรรมที่ผิดปกติ (Normal Structures,Normal Functions และ Normal Behaviors)

ระยะที่สอง/Phase 2 (ปีที่ 3) เป็นเรื่องโครงสร้าง หน้าที่และพฤติกรรมที่ผิดปกติ (Abnormal Structuers, Abnormal Functions และ Abnormal Behaviors)

ระยะที่สาม/Phase 3 (ปีที่ 4-6) เป็นเรื่องทางคลินิกโดยมีเกณฑ์ความต้องการพื้นฐานที่ทบวงมหาวิทยาลัยและแพทยสภากำหนดซึ่งประกอบด้วย อายุรศาสตร์ ศัลยศาสตร์ (และศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์ สูติศาสตร์นรีเวชวิทยากุมารเวชศาสตร์ จิตเวชศาสตร์ เวชศาสตร์ชุมชน และเวชศาสตร์ฉุกเฉิน เป็นต้น

- หมวดวิชาเลือก (Options หรือ Special Study Modules/Electives) ให้มีเนื้อหาวิชาหลากหลายเพื่อนักเรียนแพทย์ทหารจะได้เลือกในเรื่องที่สนใจ รวมถึงการจัดให้มีวิชาทหารและวิชาเวชศาสตร์ทหารเป็นวิชาบังคับเลือกของนักเรียนแพทย์ทหารวิชาหนึ่งเพื่อให้สอดคล้องกับปณิธานและวัตถุประสงค์ของหลักสูตรและการจัดการให้มีวิชาเวชศาสตร์การบินและวิชาเวชสาสตร์ใต้น้ำเป็นวิชาเลือกสำหรับนักเรียนแพทย์ทหารที่เลือกเหล่า ทหารอากาศ และทหารเรือ ตามลำดับ

· จัดทำหลักสูตร (Curriculum) ประมวลรายวิชา (Course Syllabus) และแผนกการสอน (Lesson Plan) ให้มีความสมบรูณ์ และสัมพันธ์สอดคล้องกัน

· งานจัดการเรียนการสอน

· จัดให้มีวิธีการสอนผสมผสานกันทั้ง 3 รูป คือ การศึกษาเป็นกลุ่มใหญ่ (Large group teaching) การศึกษาเป็นกลุ่มย่อย (Small group teaching) และการศึกษาด้วยตัวเอง (Self-directed learning)

· จัดให้มีการหมุนเวียนนักเรียนแพทย์ทหาร ไปฝึกปฏิบัติงานในโรงพยาบาลของเหล่าทัพอื่น โรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข และกรุงเทพมหานคร และการเชิญอาจารย์จากเหล่าทัพอื่นมาสอนที่วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า

· งานประเมินผลการศึกษา

· จัดให้มีการประเมินหรือทดสอบทั้ง 3 Domains:Professional Knowledge,skills และ attitudes ของทุกภาควิชา

· จัดให้มีการใช้เครื่องมือในการทดสอบหลากหลายรูปแบบตามวัตถุประสงค์ของรายวิชา โดยเฉพาะการใช้ Self assessment, Portfolio assessment และ Performance-based assessment

· จัดให้มีการสอบประมวลความรอบรู้รวมปลายปี ได้แก่ Prelinical Comprehensive Examination (ชั้นปีที่ 3) Clinical Comprehensive Examination (ชั้นปีที่ 5) OSCE (ชั้นปีที่ 6) Comprehensive MEQ (ชั้นปีที่ 6) และ Long case (ชั้นปีที่ 6)

· งานพัฒนาสื่อการสอน

· จัดประชุมร่วม คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ วพม.

· พัฒนาสิ่งพิมพ์ แผ่นใส สไลด์ วีดิทัศน์ หุ่นจำลอง และคอมพิวเตอร์ช่วยการสอน

· จัดทำ Study Guides

· งานประกันคุณภาพแพทยศาสตรศึกษา

· จักให้มีพัฒนาแบบฟอร์ม การใช้แบบฟอร์ม และการวิเคราะห์ผลจากแบบฟอร์มกานประเมิน Learning Context หรือ Learning Environment,Input,Process และ Output

· จัดเตรียมข้อมูล/เอกสาร สำหรับการตรวจสอบภายในและภายนอกโดยเฉพาะองค์ประกอบที่ 2